SYSTEM-OF-BIO

 

การจดจำของเด็กปฐมวัย

      

พัฒนาการของเด็ก ปฐมวัย (0-6ปีแรก) จะแบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้
1. พัฒนาการด้านร่างกาย
2. พัฒนาการด้านสติปัญญา
3. พัฒนาการด้านอารมณ์
4. พัฒนาการด้านสังคม

           

พัฒนาการด้านสติปัญญา เด็กในวัยนี้สามารถใช้สัญลักษณ์ ได้ เช่นการใช้บัตรคำแทนสิ่งของ สามารถอธิบายสิ่งต่างจากประสบการณ์ได้ เด็กสามารถวาดภาพและเล่าเรื่องราวได้เล็กน้อย เด็กๆจะเข้าใจทีอย่าง ไม่สามารถพิจารณาหลายอย่างผสมกัน ไม่สามารถแบ่งกลุ่ม เด็กๆสับสนง่ายต่อการเปรียบเทียบน้ำหนัก ปริมาตรและความยาว โดยผู้ปกครองและครูต้องให้ข้อมูลย้อนกลับที่ถูกเพื่อให้ประสบการณ์ที่ถูกต้อง

การจดจำ เด็กก่อนวัยเรียนจะเริ่มจดจำสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น สี จำนวนนับ ตัวอักษร ก-ข-ค หรือ ABC โดยเก็บข้อมูลแบบความจำระยะสั้น (Short term Memory) โดยต้องทบทวนความจำกันบ้างเพื่อให้สามารถเรียกออกมาใช้ได้ การทบทวนซ้ำจนสามารถจดจำได้นานขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ข้อมูลจากความจำระยะสั้นจะถูกย้ายไปบันทึกไว้ในความจำระยะยาว (Long term Memory) หลังจากนั้นกระบวนการทวนความจำเพื่อนำมาใช้ก็อาจง่ายขึ้นกว่าเดิม เช่น เมื่อชี้สีเขียว เด็กก็พูดออกมาได้โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องนึกว่าสีนี้เรียกว่าอะไร ด้วยข้อมูลที่มี เด็กจะรวบรวมข้อมูลทั้งหลาย และตัดสินใจว่าสิ่งไหนควรจำ เช่น ชื่อตัวเอง หน้าตาพ่อแม่ ลักษณะของเล่นชิ้นโปรด อาหารที่ชอบ ฯลฯ สิ่งไหนควรลบทิ้งไป เช่น ชุดคุณครูเมื่อ 3 วันที่แล้ว อาหารที่กินเมื่อ 2 วันก่อน ฯลฯ จากนั้นสมองเขาก็จะเก็บข้อมูลที่มีประโยชน์ไว้ และนำออกมาใช้เมื่อต้องการ

ความจำ : เกิดจากความสนใจ+สมาธิ

ก่อนที่ลูกน้อยจะสามารถใช้ความจำได้  ลูกต้องเพ่งสนใจไปยังสิ่งที่ต้องการจำนั้น และเก็บข้อมูลที่เห็นไว้ในระบบความทรงจำ ดังนั้นเมื่อจะให้ลูกเรียนรู้หรือจำเรื่องใด  พยายามดึงความสนใจของลูกให้มีสมาธิและจดจ่ออยู่กับของสิ่งนั้นตั้งแต่เริ่มแรก

ความจำ : เกิดจากสังเกต-เชื่อมโยง

ความจำมีจุดเริ่มต้นมาจากสมาธิ การสังเกต และการเชื่อมโยงกับเหตุการณ์หรือสิ่งต่างๆ ที่น่าสนใจ น่าตื่นเต้น เด็กก็จะจำได้ดี การเชื่อมโยงเปรียบเสมือนเครื่องมือที่เด็กใช้ปะติดปะต่อ ใช้ในการสื่อสารระหว่างตัวเขา ความจำ ประสบการณ์ที่ได้รับ กับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว ที่มีความแตกต่างกันอย่างมากมาย เช่น เชื่อมโยงลูกบอลกับของเล่น รอยยิ้มเชื่อมโยงกับความสุข ยิ่งลูกมีการเชื่อมโยงมากขึ้น เขาก็จะจดจำสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น

ความจำ : เกิดจากการทำซ้ำ

สิ่งใดที่ทำซ้ำๆ บ่อยๆ สมองเด็กจะสร้างเป็นความจำขึ้นมา หากต้องการให้ลูกจดจำเรื่องใด ก็ต้องหมั่นให้เขาทำเรื่องนั้นซ้ำๆ  เช่น การบอกคำเรียกของสิ่งต่างๆ เมื่อลูกได้ฟังบ่อยๆ สมองของเขาก็จะจดจำ และพูดออกมาให้รู้ในที่สุด 

บทความวิชาการจาก
https://www.enfababy.com

 

วิดีโอช่วยฝึกทักษะการจำของเด็กปฐมวัย

ฝึกอ่านออกเสียง ก-ฮ

 

ชุดคำศัพท์ห้องครัวสำหรับเด็กฝึกออกเสียง

 

ชุดคำศัพท์เกี่ยวกับผลไม้สำหรับเด็กฝึกพูด

 

 

สนุกกับรูปร่าง

 

เรียนรู้เกี่ยวกับแม่สี