เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2559 สอบกุมภาพันธ์ 2560 |
||||||||||||
ดาวโหลดข้อสอบ O-net ปีการศึกษา 2559 สอบกุมภาพันธ์ 2560 |
||||||||||||
|
||||||||||||
ข้อ 1) ข้อใดเป็นกลไกที่ต้องใช้พลังงาน (O-net 59) 1.การคายน้ำของใบพืช 2.เมล็ดถั่วแห้งเกิดการพองตัวเมื่อแช่ในน้ำ 3.การที่รากพืชดูดแร่ธาตุจากดินเข้าสู่เซลล์ 4.การแพร่ของเกล็ดด่างทับทิมที่ละลายในน้ำ 5.การลำเลียงคาร์โบไฮเดรตหรือโปรตีนเข้าออกเซลล์
|
||||||||||||
คำตอบข้อ 1 ) ตอบ (3) การที่รากพืชดูดแร่ธาตุจากดินเข้าสู่เซลล์
เหตุผล
|
||||||||||||
ข้อ 2)การปลูกพืชในพื้นที่แล้งที่ได้รับแสงแดดจัดและมีอุณหภูมิสูง ควรเลือกปลูกพืชที่มีลักษณะใด (O-net 59) 1. มีอัตราการคายน้ำสูง 2. มีจำนวนปากใบมากเฉพาะที่ผิวด้านบน 3. มีจำนวนใบมากและมีรูปากใบเปิดกว้าง 4. มีจำนวนปากใบน้อยและรูปากใบเปิดไม่เต็มที่ 5. มีจำนวนปากใบมากที่ผิวทั้งด้านบนและด้านล่าง
|
||||||||||||
คำตอบข้อ 2 ) ตอบ (4) มีจำนวนปากใบน้อยและรูปากใบเปิดไม่เต็มที่ เหตุผล การปลูกพืชในบริเวณแสงแดดจัดและมีอุณหภูมิสูง เป็นสภาวะที่เอื้อต่อการสูญเสียน้ำในรูปของการคายน้ำ ดังนั้นพืชที่จะนำมาปลูกในบริเวณนี้ควรเป็นพืชที่มีอัตราการคายน้ำต่ำ ได้แก่พืชใน ข้อ 4 ที่มีจำนวนปากใบน้อย และรูปากใบเปิดไม่เต็มที่
|
||||||||||||
ข้อ 3) ข้อใดเป็นวิธีการที่เหมาะสมในการดูแลกิ่งที่ปักชำลงดินปลูกในเรือนเพาะชำ เพื่อรักษาดุลยภาพของน้ำ (O-net 59)
1. เพิ่มอุณหภูมิและเพิ่มความชื้น 2. ลดอุณหภูมิและลดความเข้มแสง 3. ลดความเข้มแสงและลดความชื้น 4. เพิ่มความเข้มแสงและลดอุณหภูมิ 5. เพิ่มความชื้นและเพิ่มความเข้มแสง
|
||||||||||||
คำตอบข้อ 3 ) ตอบ (2) ลดอุณหภูมิและลดความเข้มแสง เหตุผล ก่อนที่กิ่งชำจะงอกรากและใบ ดุลยภาพของน้ำที่กิ่งชำควรรักษาไว้คือ ลดการสูญเสียน้ำ ซึ่งสอดคล้องกับข้อ 2 ซึ่งเป็นภาวะที่ลดการสูญเสียน้ำคือลดอุณหภูมิ และความเข้มแสง
|
||||||||||||
ข้อ 4) ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการรักษาดุลยภาพของน้ำและเกลือแร่ของปลาทะเล(O-net 59)
1. ปลาไม่กินน้ำทะเล 2. ปลาขับเกลือออกทางต่อมนาซัล 3. ปลาขับปัสสวะที่เจือจางออกเป็นปริมาณมาก 4. น้ำทะเลเป็นไฮโพโทนิคต่อของเหลวในร่างกายปลา 5. ปลามีเกล็ดป้องกันไม่ให้แร่ธาตุจากน้ำทะเลซึมเข้าสู่ร่างกาย |
||||||||||||
คำตอบข้อ 4 ) ตอบ (5) ปลามีเกล็ดป้องกันไม่ให้แร่ธาตุจากน้ำทะเลซึมเข้าสู่ร่างกาย เหตุผล ปลาทะเลมีกระบวนการควบคุมระดับน้ำในร่างกายตรงข้ามกับปลาน้ำจืด กล่าวคือผิวหนังและเกล็ดของปลาทะเลทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้แร่ธาตุจากน้ำทะเลซึมเข้าสู่ร่างกาย และที่เหงือกยังมีกลุ่มเซลล์ซึ่งขับแร่ธาตุส่วนเกินออก โดยวิธีการลำเลียงแบบใช้พลังงาน ปลาทะเลจะปัสสาวะน้อย และปัสสาวะมีความเข้มข้นสูง ส่วนแร่ธาตุที่ปนมากับอาหารจะกำจัดออกทางทวารหนัก
|
||||||||||||
ข้อ 5)
เมื่อคนอยู่ในบริเวณที่มีอากาศหนาวมาก ถึงแม้จะใส่เสื้อกันหนาวแล้ว ยังรู้สึกหนาว บางครั้งหนาวจนสั่น ข้อใดคือ การตอบสนองของร่างกายต่ออากาศหนาว (O-net 59)
1. อัตราการหายใจลดลง 2. ต่อมเหงื่อขับเหงื่อออกมากขึ้น 3. อัตราเมทาบอลิซึมของร่างกายเพิ่มขึ้น 4. หลอดเลือดบริเวณผิวหนังขยายตัวมากขึ้น 5. ต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟินมากขึ้น
|
||||||||||||
คำตอบข้อ 5 ) ตอบ (3) อัตราเมทาบอลิซึมของร่างกายเพิ่มขึ้น เหตุผล การเปลี่ยนแปลงของร่างกายขณะที่อุณหภูมิภายนอกต่ำลงเป็นผลให้สมองส่วนไฮโพทาลามัสควบคุมร่างกายดังนี้ ๐ หลอดเลือดฝอยที่ผิวหนังหดตัวเพื่อลดการแผ่ความร้อน ๐ ขนลุกชันกล้ามเนื้อโครงร่างหดตัวเร็วขึ้นทำให้ร่างกายหนาวสั่น ๐ ต่อมเหงื่อไม่หลั่งเหงื่อลดการระเหยของเหงื่อ ๐ อัตราเมทาบอลิซึมของร่างกายเพิ่มขึ้นทำให้พลังงานความร้อนที่เกิดจากกระบวนการเมทาบอลิซึมในเซลล์ถ่ายเทผ่านเลือดไปทั่วร่างกาย
|
||||||||||||
หน้าถัดไป >> |
||||||||||||
[ ข้อ 1-5 ] / [ ข้อ 6-10 ] / [ ข้อ 11-15 ] / [ ข้อ 16-18 ] |
||||||||||||
|
||||||||||||
พัฒนาโดย ครูนันทนา สำเภา
|
||||||||||||
|